วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ
          การจัดการสารสนเทศมี  3  ขั้นตอน  คือ  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล 
และการดูแลรักษาข้อมูล
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
            เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ  ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป  คือ  เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
            1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก  จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไร
บ้าง  ข้อมูลได้มาจากไหน  และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
           2. การตรวจสอบข้อมูล  เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ
ที่คุณภาพ
การประมวลผลข้อมูล
      การประมวลผลข้อมูล  คือ  การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมา
กระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  ดังนี้
      1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล  เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่ม
และประเภทของข้อมูลนั้น  เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
      2. การจัดเรียงข้อมูล  เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
      3. การคำนวณ  เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง  แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข  ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ
ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
      4. การทำรายงาน  เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด  โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต  ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ
โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ
การดูแลรักษาข้อมูล
        การดูแลรักษาข้อมูล  เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย  ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
         1. การจัดเก็บ  คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน  ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
        2. การทำสำเนา  คือ  การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ  โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป
จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ
เครื่องจักรต่าง ๆ  ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
        3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล  คือ  การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง

        4. การปรับปรุงข้อมูล  คือ  การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน  อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล                                                          

การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ
          การจัดการสารสนเทศมี  3  ขั้นตอน  คือ  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล 
และการดูแลรักษาข้อมูล

การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
            เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ  ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป  คือ  เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
            1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก  จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไร
บ้าง  ข้อมูลได้มาจากไหน  และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
           2. การตรวจสอบข้อมูล  เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ
ที่คุณภาพ
การประมวลผลข้อมูล
      การประมวลผลข้อมูล  คือ  การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมา
กระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  ดังนี้
      1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล  เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่ม
และประเภทของข้อมูลนั้น  เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
      2. การจัดเรียงข้อมูล  เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
      3. การคำนวณ  เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง  แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข  ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ
ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
      4. การทำรายงาน  เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด  โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต  ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ
โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ
การดูแลรักษาข้อมูล
        การดูแลรักษาข้อมูล  เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย  ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
         1. การจัดเก็บ  คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน  ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
        2. การทำสำเนา  คือ  การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ  โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป
จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ
เครื่องจักรต่าง ๆ  ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
        3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล  คือ  การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง

        4. การปรับปรุงข้อมูล  คือ  การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน  อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล

วิธีการประมวลขอ้มูล

วิธีการประมวลผลข้อมูล
       การประมวลผลข้อมูลสามารถทำได้  2  วิธี  คือ  การประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผลแบบทันที  ดังนี้
       1. การประมวลผลแบบกลุ่ม  ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด 
เช่น 7  วัน  หรือ  1  เดือน  แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว  เช่น  การคำนวณค่าบริการ
น้ำประปา  โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ  1  เดือน  แล้วจึงนำมาประมวลผลเป็น
ค่าน้ำประปาในครั้งเดียว    การประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย
      2. การประมวลผลแบบทันที  เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูล
ทันที  เช่นการฝากและถอนเงินธนาคาร  เมื่อลูกค้าฝากเงิน  ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที  ทำให้ยอดฝากใน
บัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง  การประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผล
มาก

 4. ข้อมูลเสียง คือ ข้อมูลที่รับรู้ด้วยการได้ยิน จัดเก็บอยู่ในสื่อคอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลข้อมูลเสียงด้วยลำโพง

ประเภทของข้อมูล

ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลมีหลายประเภท ดังนี้
  1. ข้อมูลตัวอักษรimg7.gif คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ เช่่น ทะเบียนรถยนต์ ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรทัศน์ บ้านเลขที่ เป็นต้น
      2. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข img8.gif คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ในการคำนวณได้ เช่น คะแนน จำนวนเงิน ราคาสินค้า เป็นต้น  

3. ข้อมูลภาพ a_cat_stripe.gif คือข้อมูลที่เป็นภาพอาจเป็นภาพนิ่ง เช่นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพเคลื่อไหว เช่น ภาพจากวิดีทัศน์ เป็นต้น อาจเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นซีดี เป็นต้น

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล  ( Data or raw data)  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ (fact)  ที่เกิดขึ้น ที่มีอยู่ในโลก ใช้แทนด้วยตัวเลข  ภาษา  หรือสัญลักษณ์ที่ยังไม่มีการปรุงแต่งหรือประมวลไดๆ )ถ้าเห็นนคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้และมีความหมายในตัวเอง
    สารสนเทศ  (Information)  หมายถึง  การนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้  มาผ่านกระบวนการ (process)  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ  หรือหมายถึงข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์  หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ความแตกต่างระหว่างข้อมูล( Data or Raw Data ) เราอาจเปรียบเทียบได้กับวัตถุดิบซึ่งไม่ได้ผ่านกระบานการใด  เช่น เราาต้องการอาหารจานเด็ดสำหรับมื้อค่ำ เราต้องนำวัตถุดิบเพื่อนำมาปรับปรุงเพื่อให้เป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้  ซึ่งข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน  ถ้าเราจะนำข้อมูลที่ยังไม่ผ่านกระบวนการใดๆ มาใช้ เราก็อาจไม่สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ได้เลยหรือไม่สามารถใช้ได้มากนัก  ตัวอย่างข้อมูลทางธุรกิจ   เช่น   ชนิดของสินค้า   จำนวนผู้ขาย  จำนวนที่ขาย  ข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีการเก็บรวบรวม  เช่น  จำนวน  100  200  300  ถ้ากล่าวอ้างมาเฉยๆเราก้อจะทราบแต่เพียงว่่าเป็นตัวเลข   100   200   300   แต่เราคงไม่เข้าใจว่าตัวเลขเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร  และก็จะไม่มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้  แต่ถ้าเรานำข้อมูลเหล่านี้มาเก็บรวบรวมโดยกำหนดว่าข้อมูล  100   200  300  หมายถึงจำนวนสินค้าที่ขายได้และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการ( process )  เช่นการนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณยอด  เราก็จะได้ว่าจำนวนสินค้าที่ขายทั้งหมด  คือ 600หน่วย  เราเรียกว่าข้อมูลเหล่านี้นำมาผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนเหล่านี้ว่า  สารสนเทศ (Information)ซึ่งการใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์อาจมีความแตกต่างกัน   เช่น   การใช้สารสนเทศในระบบในธูรกิจสำหรับบผู้บริหารระดับสูง   คงต้องการเพียงรายงานสรุปเพื่อนำไปตัดสินใจในการวางแผนในการทำงานต่อไป   เช่น   ขณะนี้เหลือสินค้าอยู่เท่าไร  ควรจะผลิตเพิ่มหรือไม่   แต่ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติงานคงต้องการรายงานที่มีความละเอียดเพื่อตรวจเช็คความถูกต้อง
            ฉะนั้น   เมื่อกล่าวถึง "สารสนเทศ"  ย่อมหมายถึง  ข้อมูลที่ผ่านการเปลียนแปลงโดยการนำข้อมูลตั้งแต่  2 ตัวขึ้นไป  ที่มีความเกี่ยวข้องกันมาจัดกระทำหรือประมวลผล เพื่อให้มีความหมายหรือคุณค่าเพิ่มขึ้น ตาามวัตถุประสงค์การใช้ความสำคัญของสารสนเทศ
            สารสนเทศมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการทุกระดับขององค์การ  ทั้งในการปฏิบัติงาน และการบริการ ใช้ช่วยในนการตัดสินใจ การวางแผน และการประเมินผลเปรียบเทียบช่วยเพิ่มระดับความรู้ (Knoeladge)  ความเข้าาใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริง  สารสนเทศจะมีค่าหรือความหมายมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานมากขึ้นและสารสนเทศนั้นส่งผลกระทบถถึงการตัดสินใจหรือการกระทำที่ดำเนินการ
ข้อมูลและสารสนเทศในความหมายของผู้ใช้
        ผู้ใช้ข้อมูลและสารสนเทศแต่ละคน   จะมีการรับรู้ต่อข้อมูลและสารสนเทศเดียวกันแตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้งานและหน้าที่ความรับผิดชอบ สารสนเทศสำหรับคนๆหนึ่่งอาจเป็นข้อมูลดิบสำหรับคนอื่นก็ได้   เช่น  ใบสั่งให้ส่งเอกสาร   เป็นสารสนเทศของพนักงานส่งเอกสาร  แต่เป็นข้อมูลดิบของงานสารบรรณ   ตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารใบสั่งซื้อสินค้า  จะมีความหมายและคุณค่าต่อผู้ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ  ดังนี้
            1.พนักงานขาย  ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้าเป็นสารสนเทศของเขา เพราาะเขาจะต้องจัดสินค้าตามรายการนั้น
            2.ผู้จัดการฝ่ายขาย  ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้า เป็นข้อมูลของเขา  แต่เมื่อนำใบสั่งซื้อทั้งหมกกมาาประมวลสรุปเป็นรายงานประจำเดือนจึงจัดเป็นสารสนเทศของเขา
            3.พนักงานบัญชี  ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเงินลูกค้าและทำบันทึกบัญชีต่อไป   จึงจะเป็นสารสนเทศของเขา  ซึงจะได้เป็นบัญชีลูกหนี้   บัญชีเงินสด  และรายได้จากการขายสินค้า  ซึ่งเกิดจากข้อมูลในใบสั่งซื้อนั้น
            4.พนักงานอื่นๆ  เช่น  วิศวกร  นักวิจัย  ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเพียงข้อมูลที่่เขาไม่ต้องเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง

            ค่าแรงของลูกจ้างต่อสัปดาห์   เป็นสารสนเทศของลูกจ้างแต่ละคนที่จะได้รับค่าแรงแต่เป็นข้อมูลของผู้บริหาร  และเมื่อรวมค่าแรงทั้งหมดที่ต้องจ่ายใน1 สัปดาห์แล้ว  จึงจะถือว่าเป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

ผลกระทบของเทคโนโลยี

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

        เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ขณะเดียวกันเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีราคาถูกลง ดังนั้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานต่าง ๆ จึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนี้
1. ผลกระทบทางบวกของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้
        1) ด้านคุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้น ได้แก่
            - มนุษย์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมออฟฟิศช่วยให้เกิดความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
            - มนุษย์ใช้ระบบโทรคมนาคมในการสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารในขณะเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ มนุษย์ใช้หุ่นยนต์ช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องเสี่ยงกับอันตราย หรือในงานที่ต้องการความแม่นยำและความรวดเร็วในการผลิต เช่น หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ เป็นต้น
            - มนุษย์นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น เครื่องมือตรวจคลื่นหัวใจที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด เครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย 2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านบวกต่อสังคม ดังนี้
            - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือเป็นสังคมที่ใช้สารสนเทศในการตัดสินใจและการกระจายข้อมูลข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคม
            - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดชุมชนเสมือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกันและกันได้ และความรู้เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกใช้ได้ตามต้องการ 3) ด้านการเรียนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้
            - การสร้างโปรแกรมจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างชัดเจน เช่น การจำลองสภาวะสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ การจำลองการไหลของของเหลว หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองให้ผู้เรียนได้อยู่ในสภาพที่เสมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน จำลองการขับรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งลดความผิดพลาดจากความเสี - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมือง เศรษฐกิจโลก รวมทั้งเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทำให้มนุษย์ต้องขวนขวายพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั่วโลกยหายและความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายของผู้เรียนลงได้ผลกระทบทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางลบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้
        1) คุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้
            - โรคอันเกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ได้แก่ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือเนื่องจากจับเมาส์ หรือใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานาน อาการปวดคอ ไหล่ และหลัง การเกิดปัญหาด้านสายตาเนื่องจากเพ่งมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นต้น โรคทนรอไม่ได้  (Hurry Sickness) เกิดกับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้เป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย ความอดทนลดลง ทนรอเครื่องดาวน์โหลด
นาน ๆ ไม่ได้ จะกระวนกระวาย ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมติดตัวไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วย หากมีอาการมาก ๆ อาจจะเข้าข่ายโรคประสาทได้
โรคทนรอไม่ได้
            - มนุษย์เกิดความเครียดจากการเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายรวมถึงความเครีย 2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อสังคม ดังนี้
            - การขาดทักษะทางสังคม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการสื่อสารพันได้โดยไม่ต้องพบเจอกัน ซึ่งพบว่าปัจจุบันคนในสังคมจะนิยมใช้บริการเครือข่ายสังคม หรือที่เรียกว่า social network มากขึ้น เช่น เว็บไซต์ Hi5 และเว็บไซต์ Facebook ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าบุคคลในสังคมน้อยลง ทักษะทางสังคมต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างกัน ได้แก่ ทักษะการพูด การฟัง การทำงานร่วมกัน รวมทั้งความสามารถในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่หลากหลาย กฎกติกาต่าง ๆ ในสังคม และการคิดคำนึงถึงคนรอบข้างอย่างเข้าอกเข้าใจ ซึ่งทักษะทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการขาดทักษะทางสังคมจะทำให้คนขาดการทำความเข้าใจผู้อื่น ไม่มีการทำงานร่วมกัน จนกระทั่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคมขึ้นได้ ดจากความวิตกกังวลว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาทดแทนแรงงานของคนสื่อที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดบนโลกไซเบอร์
            - การเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหนึ่งในการก่ออาชญากรรมได้ง่าย ผู้ไม่หวังดีอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิด เช่น การขโมยข้อมูลของบริษัทและนำไปเปิดเผยกับบริษัทคู่แข่ง การเจาะระบบของธนาคารและเปลี่ยนแปลงข้อมูลเงินในบัญชีธนาคารให้สูงขึ้น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งภาพลามกอนาจ การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย หรือเผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาแอบแฝงแนวคิด ก้าวร้าว รุนแรง การส่งไวรัสเข้าไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น

        3) ด้านการเรียนการสอน ผลกระทบในทางลบกับการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นหากผู้สอน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด และปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยอาจตีความได้ไม่ถูกต้อง รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด ดังนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน รวมทั้งให้คำแนะนำ อบรมสั่งสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความสำคัญของเทคโนโลยี

เป็นข้อมูลแต่เมื้อใบสั่งซื้อสินค้านี้ถูกดำเนินการต่อให้เป็นใบส่งของ    สำหรับนำไปเก็บปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของหน่วยงานที่เชื่อมต่อในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การมีเว็บไซต์สำหรับเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ เป็นต้น แม้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีประโยชน์และสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูง และอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายต่อการปฏิบัติราชการได้เข่นกัน

         เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว